บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับองค์กรพันธมิตร ขับเคลื่อน“ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา” (Fishermen Life Enhancement Center หรือ ศูนย์ FLEC) เข้าสู่ปีที่ 8 มุ่งเน้นยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัวแรงงานประมงต่อเนื่อง ควบคู่กับการดูแลและคุ้มครองสิทธิเด็กและสตรี เข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม สร้างเสริมทักษะชีวิต เพื่อร่วมต่อต้านการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมอาหารทะเลอย่างยั่งยืน
นางสาวนาตยา เพชรรัตน์ ผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา ในฐานะกรรมการศูนย์ FLEC สงขลา กล่าวว่า ศูนย์ FLEC ดำเนินงานตั้งแต่ปี 2559 สำหรับปีนี้ ศูนย์ FLEC มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพเด็กลูกหลานแรงงานข้ามชาติ ให้ได้รับการศึกษา ควบคู่กับการพัฒนาทักษะชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนให้เด็กข้ามชาติเข้าถึงสิทธิอย่างเท่าเทียมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อร่วมต่อต้านปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็กอย่างผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ศูนย์ FLEC ที่มีการบูรณาการความเชี่ยวชาญของ 7 องค์กรจากภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ภายใต้วัตถุประสงค์สำคัญฯ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติภาคประมงและครอบครัว ให้ได้รับการคุ้มครองและสามารถประกอบอาชีพได้ตามหลักมนุษยธรรม ยกระดับความเป็นอยู่ที่ดี (Wellbeing) และสุขภาพ คุ้มครองและเคารพสิทธิเยาวชน สอดคล้องหลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจขององค์การสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) และเพื่อขับเคลื่อนตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้แก่ครอบครัวแรงงานประมง รวมถึงการมีส่วนร่วมปกป้องเรื่องการจัดการขยะทะเลและชายฝั่ง (Ocean Stewardship)
ศูนย์ FLEC ดำเนินการในระยะที่ 2 ( 2564 – 2568) สอดคล้องกับบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือมุ่งเน้นการสร้างรากฐานการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) โดยศูนย์เรียนรู้เพื่อเด็กและครอบครัวแรงงานเพื่อนบ้าน (Learning Quarter for Neighboring Migrant Children and Family) เป็นจัดการเรียนตามช่วงวัย ตั้งแต่ความรู้ขั้นพื้นฐาน เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาไทย อังกฤษ และกัมพูชา เตรียมความพร้อมเข้าเรียนต่อในโรงเรียนรัฐในจังหวัดสงขลาต่อไป ควบคู่กับการสร้างเสริมทักษะการใช้ชีวิต สร้างแหล่งอาหารส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ในพื้นที่ศูนย์ฯและบริเวณที่พักอาศัย อาทิ การปลูกผักสวนครัว เพื่อรับประทานในศูนย์ฯ และการแยกขยะนำไปขายอย่างเป็นระบบ ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อส่งเสริมให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ พึ่งพาตนเอง (Self-Sufficiency) ได้ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา มีลูกหลานแรงงานประมงในพื้นที่ท่าเรือสงขลา กว่า 268 คนได้เข้าถึงการศึกษาตามระบบการศึกษาของไทย ปัจจุบันมีเด็กนักเรียนจำนวน 34 คนกำลังเรียนอยู่ในโรงเรียนเทศบาล 1 (ถนนนครนอก) อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ซีพีเอฟ เป็นหนึ่งในองค์กรพันธมิตรร่วมก่อตั้งและสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์ FLEC สงขลาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน โดยบูรณาการความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ระหว่างซีพีเอฟ กับ 6 องค์กรพันธมิตร ประกอบด้วย องค์การสะพานปลา ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา (บ้านสุขสันต์) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี บริษัท จี.อี.พี.พี. สะอาด (เก็บสะอาด) และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (GC) มีเป้าหมายสร้างความเท่าเทียมและพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงานประมงข้ามชาติและครอบครัวในทุกมิติ ผ่านการเพิ่มพูนความรู้เรื่องความปลอดภัยและชีวอนามัยในสถานที่ทำงาน การดูแลสุขภาพ การสร้างเสริมทักษะอาชีพ มุ่งลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล 1,500 บาท/คน/ปี ลดค่าใช้จ่ายครัวเรือนผ่านโครงการปลูกผักสวนครัวรับประทาน เป็นต้น ซึ่งเป็นหนึ่งในการร่วมต่อต้านปัญหาการค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายในระดับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ศูนย์ FLEC ได้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงยังได้ร่วมมือกับองค์กรพันธมิตร ดำเนิน โครงการ “ขยะดีมีค่า” เพื่อส่งเสริมความรู้การคัดแยกขยะ และนำมาขยะที่สามารถรีไซเคิลได้แลกเป็นของใช้อุปโภค เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้ครองชีพ นอกจากนี้ ศูนย์ FLEC ยังมีส่วนร่วมเก็บขยะทะเลในวันเก็บขยะชายหาดสากล (International Ocean Clean Up Day) ตามแนวทางสากล Ocean Conservancy ร่วมกับเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชนทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นกว่า 13,000 กิโลกรัม เพื่อร่วมปลูกฝังจิตสำนึกในการร่วมพิทักษ์ และอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล อันเป็นต้นทางความมั่นคงในระบบทางอาหารของโลก.